วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ศิลปะ เครื่องดนตรีไทย (ระนาดเอก)

ศิลปะ
เรื่อง เครื่องตรีไทย (ระนาดเอก)
ประวัติความเป็นมาของ ระนาดเอก
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีประวัติความ เป็นมาเก่าแก่ยาวนานมากดังหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบระนาดหินซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของ ระนาดไม้ ในยุคปัจจุบัน ระนาดหินนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีนั้นมีต้นกำเนิดมานานแล้ว ระนาดหินดังกล่าวมีอายุเก่าประมาณ3000ปี มีลักษณะเป็น ขวานหินยาว พบที่แหล่งโบราณคดีริมฝั่งคลองกลาย หมู่ที่ 7 ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
ขวานหินยาวนั้นเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ นำหินมากระเทาะให้เป็นแผ่นยาวหรือเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งแต่งให้เป็นสันหนา ส่วนปลายอีกด้านจะแต่งให้บางลงจนเกิดความคมซึ่งเป็นลักษณะของ ขวานหินทั่วไปแต่มีลักษณะยาวกว่าจึงเรียกว่าขวานหินยาวขวานหินยาวบางชิ้นทำจาก หินภูเขาไฟซึ่งมีส่วนผสมของแร่โลหะเวลาเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน และมีระดับเสียง สูงต่ำแตกต่างกันตาม
ขนาดความยาวหรือความหนาบางของขวานหิน ด้วยเหตุนี้นัก โบราณคดีจึงเรียกขวานหินยาวว่าระนาดหิน นอกจากนั้นยังได้พบระนาดหินที่ประเทศ เวียตนามจำนวน 11 ชิ้น เมื่อผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซียได้ วิเคราะห์ความถี่ของเสียงระนาดหินจำนวน 10 ชิ้น ปรากฏว่ามีระนาดหินจำนวน 5 ชิ้น มีความถี่ของเสียงเท่ากับความถี่ของเสียงดนตรี 5 เสียงซึ่งเป็นระดับเสียงของเครื่องดน ตรีโบราณที่ใช้กันอยู่ในประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่ากำเนิดของ ระนาดหินอาจเกิดจากการที่มนุษย์นำขวานหินธรรมดาซึ่งเป็นเครื่องมือใช้งานหรือเป็น อาวุธมาใช้และได้ยินเสียงที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องมือดังกล่าวเป็นเสียงดนตรี ที่ไพเราะน่าฟังจึงเป็นแรงจูงใจให้เกิดจินตนาการในการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้น
สำหรับระนาดไม้นั้นน่าจะมีพัฒนาการมาจาก กรับ หรือ โกร่ง ซึ่งตามปกติใช้ ตีเพียง 2 ชิ้น แต่ได้มีการนำเอากรับซึ่งเป็นท่อนไม้สั้นๆจำนวนหลายชิ้นมาวางเรียงกัน แล้วใช้ไม้ตีลงไป ทำให้เกิดทำนองสูงต่ำแตกต่างกันตามขนาดความ สั้น-ยาว และ ความ หนา-บาง ของวัตถุดังเช่นเครื่องดนตรีของชาวอินโดนีเซียหรือชาวพื้นเมืองในประเทศ อาฟริกา
การนำเอาไม้กรับหลายๆอันมาวางเรียงตีนั้นน่าจะเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภท โปงลาง และ ระนาดเอก ในปัจจุบันโดยจะเห็นได้จากเครื่องดนตรีของคนที่อยู่ในภูมิภาคแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และร่องรอยการพัฒนาการของระนาดในภูมิภาคอื่นๆของโลกอีกหลายแห่งซึ่งก็มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างและลักษณะ คล้ายคลึงกัน เมื่อมีการนำไม้กรับขนาดต่างๆมาวางเรียงและใช้ไม้เคาะเพื่อให้เกิดเสียงที่ต่าง กันแล้วจึงมีการคิดไม้รองเป็นรางเพื่อวางไม้กรับเรียงต่อๆกันไป รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อให้คุณภาพเสียงดีขึ้นคือแก้ไขปรับปรุงไม้กรับให้มีขนาดลดหลั่นกันโดยเรียงลำดับ ตามความสูงต่ำของเสียงและทำรางรองไม้กรับให้มีลักษณะเป็น กล่องเสียง เพื่อให้ดัง กังวานยิ่งขึ้นเรียกว่า รางระนาด แล้วใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่า ผืนระนาด ขึงแขวนไว้เหนือรางระนาด
ต่อมาจึงประดิษฐ์แก้ไขตัดแต่งไม้กรับ ให้มีรูปร่างประณีตสวยงามและเรียกไม้กรับเหล่านี้เสียใหม่ว่า ลูกระนาด ทั้งยังได้พัฒนา วิธีการปรับแต่งระดับเสียงของไม้กรับโดยใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่ว แล้วลนไฟติดไว้ตรงบริเวณด้านล่างตรงส่วนหัว และส่วนท้ายของลูกระนาดเพื่อให้เกิดเสียงที่ลึกนุ่มนวลขึ้นเป็นการทียบเสียงลูกระนาดเพื่อให้ได้ระดับเสียงตรงตามที่ต้องการด้วย
สรุปว่า ลูกระนาดนั้นพัฒนาขึ้นมาจากไม้กรับประเภทต่างๆ ดังนั้นในหัวข้อนี้จึง ขอกล่าวถึงกรับประเภทต่างๆไว้ด้วยดังนี้

กรับ, โกร่ง ของไทยเป็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะมี เสียงดังเช่นเดียวกับชื่อคือมีเสียง ดัง กรับ-กรับ เกิดจากการกระทบกันของวัตถุที่ใช้ทำเช่น ไม้ โลหะ หรือ งาช้าง กรับนั้น แบ่งตามลักษณะได้เป็น 3 ชนิดคือ กรับคู่ กรับพวง และ กรับเสภา
กรับคู่ เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ลำมะลอกหรือไม้ไผ่สีสุก เป็นต้น นำมาผ่า ซีกให้มีขนาดยาวประมาณ 45 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.หนาประมาณ 1.5 ซม.จำนวนสองท่อน ถือมือละท่อน ใช้ทางด้านผิวไม้ตีกระทบกัน มักใช้ตีกำกับทำนองร้องเวลาเล่นละครชาตรี จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
กรับละคร นอกจากใช้ตีกำกับจังหวะแล้วยังใช้ตีเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ และตีให้จังหวะในพิธีการต่างๆด้วย
กรับพวง เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ผสมแผ่นโลหะบางๆ ยาวประมาณ 20 ซม. จำนวนหลายแผ่นร้อยเชือกเข้าด้วยกัน มีไม้หนา 2 ชิ้นซึ่งเรียกว่า "ไม้ประกับข้าง" ประกับ ไว้ด้านนอกทั้งสองข้างไม้ประกับข้างนี้มักประดิษฐ์รูปร่างให้ เหมาะกับการใช้ตีลงบนฝ่ามือ วิธีตีใช้มือหนึ่งถือแล้วตีโดยใช้ อีกมือหนึ่งรองรับทำให้เกิดเสียงกระทบจากแผ่นไม้และแผ่น โลหะที่สอดอยู่ตรงกลางระหว่างไม้ประกับนั้น กรับพวงใช้ บรรเลงในวงมโหรีโบราณ การเล่นเพลงเรือ และ การแสดง โขนละคร
กรับเสภา เป็นกรับชนิดหนึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ชิงชัน ลักษณะเป็นแท่ง สี่เหลี่ยมมีผิวด้านหนึ่งโค้งมนยาวประมาณ 20 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม. หนาประมาณ 5 ซม.ใช้ขยับมือละคู่ ปัจจุบันมีนักดนตรีนำกรับที่ทำเลียนแบบกรับเสภาแต่มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ไม่มีผิวโค้งมนมาใช้ตีเป็นจังหวะโดยตีเน้นที่จังหวะปิดหรือจังหวะเสียงตก เช่นในจังหวะ ฉิ่ง - ฉับ กรับจะตีเฉพาะที่ลงจังหวะ ฉับ เท่านั้น
ในการขับเสภาผู้ขับเสภาจะใช้กรับ 2 คู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ 2 คู่นี้ตามลักษณะท่วงทำนองที่เรียกชื่อด้วยคำนำหน้าว่า "ไม้" เช่น ไม้กรอ ไม้หนึ่ง ไม้สอง ไม้รบ หรือ ไม้สี่ สำหรับ ไม้กรอ ใช้ขยับประกอบในลีลาทั่วๆไป ไม้หนึ่งและไม้สองใช้
ขยับประกอบขับเสภาบทไหว้ครูส่วน ไม้รบ หรือ ไม้สี่ ใช้ขยับประกอบขับเสภาในลีลา รุกเร้า
โกร่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีทำด้วยไม้ท่อนยาวที่มีลักษณะกลวงอยู่ ภายในเช่นลำไม้ไผ่แห้งหรือ ท่อนไม้ขุด มีความยาวแล้วแต่ต้อง การ เจาะเป็นร่องยาวไป ตามปล้องหรือเว้นตรงข้อก็ได้ อาจเจาะเป็นร่องทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียวแต่สลับปล้องกัน ก็ได้เพื่อให้ตีเสียงดังก้องขึ้น เวลาตีวางลำท่อนไม้ราบไปตามพื้นมีท่อนไม้

ระนาด เป็น เครื่องตีชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ว่า วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมก็คงใช้ไม้กรับ ๒ อันตีเป็นจังหวะ แล้วต่อมาเกิดความรู้เอาไม้มาทำอย่างกรับหลาย ๆ อัน วางเรียงตีให้เกิดเสียงหยาบ ๆ ขึ้นก่อนแล้วคิดทำไม้รองเป็นรางวางเรียงราดไป เมื่อเกิดความรู้ความชำนาญขึ้นก็เกิดการแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน และทำรางรองให้อุ้มเสียงได้แล้วใช้เชือกร้อย
ระนาด , ระนาดเอก
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงตีให้เกิดเสียงอย่างหยาบๆขึ้นก่อน แล้วคิดทำไม้รองเป็นรางวางเรียงไป ต่อมาจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้อุ้มเสียงได้ จากนั้นจึงใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆนั้นให้ติดกันขึงแขวนไว้บนราง ใช้ไม้ตีเกิดเสียงกังวานไพเราะลดหลั่นกันตามต้องการ และใช้ขี้ผึ้งกับตะกั่วผสมกันติดหัวท้ายลูกระนาดเพื่อถ่วงเสียงให้ไพเราะยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า "ระนาด" ต่อมามีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มฟังนุ่มไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่นั้นว่า "ระนาดทุ้ม" และเรียกระนาดอย่างเก่าว่า "ระนาดเอก" ระนาดเอกถ้าต้องการเสียงไพเราะนุ่มนวลมักนิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการให้เสียงเกรียวกราวมักนิยมทำด้วยไม้แก่นเช่น ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ลูกระนาดมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้น (อยู่ซ้ายมือของผู้ตี) ขนาดยาวประมาณ 39 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.หนา 1.5 ซม. ลูกต่อมาก็ลดหลั่นกันลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอด (ขวามือของผู้ตี) มีขนาดยาว 29 ซม. ลูกระนาดเหล่านั้นร้อยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนบนรางซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีรูปร่างคล้ายลำเรือ ด้านหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียงมีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางระนาดเรียกว่า"โขน" วัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งถึงโขนอีกข้างหนึ่งยาวประมาณ 120 ซม. มีฐานรูปทรง สี่เหลี่ยมรองตรงส่วนโค้งตรงกลางเรียกว่า "เท้า"
ระนาดเอกใช้ไม้ตี 1 คู่ ตอนที่ใช้มือถือเหลาเล็กเป็นก้านไม้กลม หัวไม้ตีทำเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุแข็งตอนปลายพอกด้วยผ้าชุบยางรักบรรเลงให้เสียงดังเกรียว กราว เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งคิดทำกันขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯทำด้วยวัสดุซึ่งนุ่มกว่า ใช้ผ้าพันแล้วถักด้าย สลับจนนุ่มบรรเลงให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้นวม" ผู้ตีนั่งหัน หน้าเข้าหาเครื่องดนตรีจับไม้ข้างละมือตีคู่แปดพร้อมกัน
ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีชิ้นนำของวงปี่พาทย์เพราะไม่ว่าจะเริ่มเล่นเพลงหรือ เปลี่ยนเพลงทั้งวงจะยึดแนวของระนาดเอกเป็นหลัก นอกจากนี้ระนาดเอกยังเป็นเครื่อง ดนตรีหลักในการผสมวงเช่น ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์นางหงส์ หรือแม้แต่ในวงมโหรีไม่ว่าจะเป็นมโหรีเครื่องเล็ก มโหรี เครื่องคู่ หรือ มโหรีเครื่องใหญ่ ต่างก็ใช้ระนาดเอกเป็นหลักทั้งสิ้น

เหตุใดจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า "ระนาด"

มีเครื่องดนตรีจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อตามลักษณะเสียงของเครื่องดนตรีนั้นๆ เช่น ฉิ่ง กรับ ฆ้อง เป็นต้นแต่น่าแปลกที่ ระนาด ไม่ได้ถูกเรียกชื่อตามลักษณะของเสียงที่ได้ยินเมื่อเคาะลูกระนาด ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร? และเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น? ได้มีการสันนิษฐานตามหลักภาษาศาสตร์เป็น 2 กระแสคือ

1) กระแสแรกมีความเห็นว่า คำว่าระนาดนั้นเป็นคำไทยที่แผลงหรือยืดเสียงมา จากคำว่า "ราด" เช่นคำว่า "เรียด" แผลงเป็น "ระเรียด" "ราบ" แผลงเป็น "ระนาบ" เป็นต้น ทั้งยังมีสำนวนที่ชอบพูดติดปากกันมาแต่โบราณว่า "ปี่พาทย์ ราด ตะโพน" ซึ่งมีคำว่า ราด ปรากฏรวมอยู่ในประโยคดังกล่าวด้วยและอาจจะหมายถึงระนาดเอกก็ได้ คำว่า "ราด" นั้นมีความหมายว่า แผ่ออกไป กระจายออกไป ซึ่งก็ดูจะพ้องกับวิธี การที่นำเอาไม้กรับหรือลูกระนาดมาวางเรียงตามขนาดลดหลั่น กันหรือการนำท่อนไม้มา วางเรียงขวางทางเดินแล้วเรียกท่อนไม้เหล่านั้นว่า "ลูกระนาด" อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ยังไม่มี ข้อยุติที่แน่ชัดว่าเป็นการเรียกท่อนไม้ที่วางเรียงขวางทางเดินก่อนแล้วจึงนำมาเรียกเป็นชื่อ เครื่องดนตรีในภายหลังหรือว่าเป็นศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเครื่องดนตรีก่อนแล้ว จึงใช้เรียกการเรียงท่อนไม้ลักษณะนั้นในภายหลัง

2) กระแสที่สอง เห็นว่าคำนี้น่าจะเป็นคำในภาษาเขมรดังปรากฏในบทความของ อาจารย์สงัด ภูเขาทอง เรื่อง "โปงลางในทัศนะของคนต่างถิ่น" จากหนังสือ "คำดนตรี" ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า ระนาดน่าจะไม่ใช่คำไทย ยิ่งไปพบคำเขมรที่เขียนว่า "ราด" คนเขมรออกเสียงว่า "เรียะส์" แต่ไทยออกเสียงว่า "ราด" เป็นคำกริยาแปลว่า "คราด" เขามีวิธีทำคำกริยาให้เป็นคำนามด้วยการเติมกลางคำ (INFIX) คือแทรกตัว "น" เข้าไปเป็น "รนาส" คนเขมรอ่านว่า "โรเนียะส์" แต่คนไทยอ่านว่า "ระนาด" แปลว่า "ลูกคราด" เวลาเขียนคำเขมรที่สะกดด้วยตัว "ส" เมื่อเป็นภาษาไทยมักจะแปลง ตัว "ส" ให้เป็น "ด" เช่น "โปรส" เป็น "โปรด" เป็นต้น ดังนั้นคำว่า "ระนาส" จึงกลายเป็น "ระนาด" ไป และพลอยให้น่าเชื่อว่า คำว่าระนาดนั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเขมร

ส่วนประกอบของ ระนาดเอก

ส่วนประกอบของระนาดเอกนั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. รางระนาดเอก
2. ผืนระนาดเอก
3. ไม้ตระนาดี


จบการนำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น: